AUSTRALIA | CANADA | ENGLAND | NEW ZEALAND | USA |
• ข้อมูลทั่วไป สหราชอาณาจักร • การเตรียมตัว ก่อนไป อังกฤษ • เมื่อเดินทางถึง อังกฤษ • การเตรียมเอกสาร วีซ่า อังกฤษ |
ENGLAND England General Information On this page • ระบบการศึกษาของสหราชอาณาจักร (UK Education System) • ที่ตั้งและขนาดของประเทศอังกฤษ (Location and Size of UK) • จำนวนประชากรของประเทศอังกฤษ (Population) • ความต่างระหว่างเวลาประเทศอังกฤษและประเทศไทย (Time Difference) • ค่าเงิน (Currency) • ค่าครองชีพ (Living costs) • ภูมิอากาศ (Seasons & Weather) ระบบการศึกษาของสหราชอาณาจักร (UK Education System) แบ่งออกเป็น 4 ระดับ คือ ระดับประถมศึกษา (Preparatory School หรือเรียกว่า Prep Sc.) รับนักเรียนอายุ ตั้งแต่ 5 - 13 ปี คือ Pre - Preparatory School (ระดับเตรียมประถมศึกษา) รับเด็กอายุ 5 - 7 ปี Preparatory School (ระดับประถมศึกษา) รับเด็กอายุ 8 - 13 ปี ระดับมัธยมศึกษา (Public School) รับนักเรียนอายุตั้งแต่ 13 ปีขึ้นไป และเรียนได้จนถึงอายุ 18 - 19 ปี การศึกษาในระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาของอังกฤษมีทั้งโรงเรียนของรัฐบาลและโรงเรียนของเอกชน ซึ่งการขึ้นชั้นเรียนในระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาเป็นการขึ้นชั้นเรียนโดยอัตโนมัติ 2 ไม่มีการสอบตก และหลังจากที่จบการศึกษาเมื่ออายุ 16 ปีแล้ว กระทรวงศึกษาธิการและวิทยาศาสตร์ของอังกฤษจะกำหนดให้มีการวัดความรู้ ความสามารถของเด็ก โดยการจัดสอบของคณะกรรมการอิสระ ซึ่งมีการสอบประมาณเดือนมิถุนายนถึงเดือน กรกฎาคมของทุกปี ผลการสอบดังกล่าวจะนำไปใช้ในการสมัครเข้าศึกษาในระดับอุดมศึกษาต่อไป การสอบนี้มี 2 ประเภท คือ • GCSE (General Certificate of Secondary Education) เป็นการสอบเมื่อนักเรียนอายุประมาณ 16 ปีขึ้นไป โดยเลือกสอบประมาณ 6 - 10 วิชา เช่น วิทยาศาสตร์ ภาษาอังกฤษ คณิตศาสตร์ สังคมศึกษาฯลฯ ผลการสอบจะแบ่งออกเป็น 7 ระดับ ได้แก่ Grade A , B , C , D , E , F และ G ผู้ที่สอบได้ Grade C ขึ้นไปจะถือว่าสอบผ่าน นักเรียนที่สอบ GCSEs ได้อย่างน้อย 5 วิชาขึ้นไป หากจะศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาจะต้องศึกษาต่อ อีกประมาณ 2 ปี ในระดับ A (Advanced) Level • GCE (General Certificate of Education) “A” (Advanced) Level การศึกษาระดับนี้จะกำหนดระยะเวลาการศึกษาไว้ 2 ปี โดยจะมีการสอบเพื่อวัดความสามารถ ทางวิชาการของนักเรียนที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป ส่วนใหญ่นักเรียนจะลงทะเบียนเรียนเพียง 2 - 4 วิชา ซึ่งมักจะเป็นวิชาที่เกี่ยวข้องกับหลักสูตรหรือสาขาวิชาที่ต้องการศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา ผลการสอบ A Level มี 5 ระดับ คือ A , B, C, D และ E ซึ่ง Grade ที่ได้ทั้ง 5 ถือว่าสอบผ่านทั้งหมด มหาวิทยาลัยส่วนใหญ่พิจารณารับผู้มีผลการสอบในระดับ C ขึ้นไป บางแห่งอาจรับเฉพาะผู้ที่ได้คะแนนระดับ A และ B ผลการสอบ GCE “A” Level นี้ จะเป็นเกณฑ์ที่มหาวิทยาลัยใช้ในการพิจารณารับนักเรียนเข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาตรี ระดับอาชีวศึกษา (Further Education) เป็นการศึกษาที่จัดขึ้นเพื่อให้นักเรียนที่มีอายุ 16 ปี ไปแล้วที่ไม่ประสงค์จะศึกษาต่อระดับอุดมศึกษา แต่ประสงค์จะมีคุณวุฒิทางวิชาชีพต่าง ๆ เพื่อใช้ในการประกอบอาชีพ คุณวุฒิวิชาชีพมี 2 ประเภท คือ 1. GNVQ (General National Vocational Qualification) เป็นการศึกษากึ่งสายอาชีพ โดยแบ่งออกเป็น 4 ระดับ คือ GNVQ Foundation หลักสูตร 1 ปี GNVQ Intermediate หลักสูตร 2 ปี ต่อจาก GNVQ Foundation GNVQ Advanced หลักสูตร 2 ปี เทียบเท่า A Level ซึ่งผู้ที่สำเร็จการศึกษาหลักสูตรนี้สามารถสมัครเข้าศึกษาต่อใน ระดับอุดมศึกษาได้ GNVQ 4 การศึกษาระดับนี้เทียบเท่าหลักสูตรชั้นปีที่ 1 ของระดับปริญญาตรี จึงสามารถเข้าศึกษาต่อปริญญาตรีของมหาวิทยาลัยได้ นอกจากนี้คุณวุฒิวิชาชีพ GNVQ กำลังเข้ามาแทนคุณวุฒิ First Diploma,National Diploma และ Higher National Diploma (HND) ซึ่งเป็นหลักสูตรอาชีวศึกษาแบบเก่าของอังกฤษ 2. NVQs (National Vocational Qualifications) เป็นการศึกษาสายอาชีพและการฝึกปฏิบัติวิชาชีพเฉพาะ โดยผู้ว่าจ้างสหภาพแรงงานและผู้เชี่ยวชาญในสาขาอาชีพนั้นๆ เป็นผู้กำหนดมาตรฐานการศึกษา การศึกษาระดับนี้แบ่งเป็น 5 ระดับ คือ NVQ 1 , NVQ 2 , NVQ 3 , NVQ 4 และ NVQ 5 แต่ละระดับจะยึดตามความสามารถเป็นหลัก ไม่มีการกำหนดระยะเวลาหลักสูตรที่แน่นอนตายตัว สำหรับหน่วยงานที่มีหน้าที่รับผิดชอบด้านการออกคุณวุฒิ GNVQs และ NVQs มีดังนี้ 0. BTEC (Business and Technology Education Council): เป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบครอบคลุมวิชาด้านเทคโนโลยี ธุรกิจ สุขภาพ สังคมสงเคราะห์ สันทนาการและการท่องเที่ยว 1. C & G (City and Guilds of London Institute): เป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบ ครอบคลุมด้านเทคโนโลยีอุตสาหกรรมทั่ว ๆ ไป เชน่ วิศวกรรม การกอ่ สร้าง การบริการจัดเลี้ยง 2. RSA (Royal Society of Arts): เป็นหน่วยงานที่เปิดสอนหลักสูตรคล้ายกับ BTEC และ C & G และยังเชี่ยวชาญด้านทักษะการทำงานในสำนักงานการสอนภาษาอังกฤษในฐานะภาษาต่างประเทศ สำหรับหลักสูตรและวุฒิการศึกษาของสก๊อตแลนด์นั้น เมื่อนักเรียนจบมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 4 จะสอบ Standard Grades ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 ระดับ คือ Foundation, General และ Credit และเมื่อจบมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 5 นักเรียนมักจะสอบ Highers นักเรียนบางคนเมื่อจบแล้วจะสอบผ่าน Highers 4 - 5 วิชา หรืออาจถึง 6 วิชา ในกรณีพิเศษและได้เกรดที่ต้องการสำหรับเข้าเรียนต่อในมหาวิทยาลัยหรือวิทยาลัยของสก๊อตแลนด์ แต่อย่างไรก็ตามนักเรียนอาจเรียนต่ออีก 1 ปี เพื่อเรียน Advanced Highers และเมื่อจบมัธยมศึกษาปีที่ 6 นักเรียนจะสอบการศึกษาดังกล่าว โดยทั่วไป Advanced Highers เทียบได้กับ GCE A - Level เกรด A ถึง C ระดับอุดมศึกษา (Higher Education) เป็นการศึกษาในระดับมหาวิทยาลัย และ College of Higher Education ปัจจุบันมหาวิทยาลัยในสหราชอาณาจักรเป็นของรัฐบาลเกือบทั้งหมด ยกเว้น University of Buckingham ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยเอกชนเพียงแห่งเดียว Polytechnic ในสหราชอาณาจักร ขณะนี้ได้ยกฐานะเป็นมหาวิทยาลัยทั้งหมดแล้ว หลักสูตรการศึกษาในระดับอุดมศึกษา แบ่งเป็น 1. Undergraduate Course • Business and Technician Education (BTEC), Higher National Certificate / Diploma (HNC/HND) หรือ Diploma of Higher Education (Dip.HE) หลักสูตร 2 ปี ส่วนใหญ่ เปิดสอนใน College of Higher Education และอาจมีในมหาวิทยาลัยบางแห่งรับจากผู้ที่สอบ “A” Level อย่างน้อย 1 วิชา หรือสำเร็จการศึกษาระดับ National Diploma สำหรับวิธีการสมัครต้องสมัครผ่าน Universities Central Admission System (UCAS) เช่นเดียวกับปริญญาตรี • First Degree (Bachelor’s degree) หลักสูตรส่วนใหญ่ 3 ปี ยกเว้นบางสาขา เช่น วิศวกรรมศาสตร (4 ปี) สถาปัต ยกรรมศาสตร (5 ปี), ทันตแพทยศาสตร์ (5 ปี), สัตวแพทยศาสตร์ (5 ปี), แพทยศาสตร์ (6 ปี) ปริญญาที่ให้ ได้แก่ Bachelor of Arts (B.A.) Bachelor of Sciences (B.Sc.) Bachelor of Education (B.Ed.) Bachelor of Engineering (B.Eng.) สำหรับในสก๊อตแลนด์มี 2 หลักสูตร คือ Oridinary degree หลักสูตร 3 ปี และ Honours degree หลักสูตร 4 ปี นอกจากนี้มหาวิทยาลัยหลายแห่งยังเปิดหลักสูตรปริญญาดังนี้ 1. Joint Honours Degree เป็นการเรียนร่วมตั้งแต่ 2 สาขาวิชาขึ้นไป โดยแต่ละสาขาวิชาต้องเรียนหนักเท่ากัน ทั้งนี้อาจเป็นสาขาวิชาที่ใกล้เคียงกัน เช่น เศรษฐศาสตร์ และคณิตศาสตร์ หรือสาขาวิชาที่ไม่ใกล้เคียงกันแตมี่ความเกี่ยวข้องกัน เช่น คอมพิวเตอร์, และจิตวิทยา 2. Combined Degree เป็นการเรียนร่วมในสาขาวิชาที่แตกต่างกัน ซึ่งไม่จำเป็นต้องเรียนหนักเท่ากัน 3. Sandwich Courses เป็นการเรียนโดยรวมเวลาฝึกงานกับเวลาเรียนเข้าด้วย เช่น การฝึกงานด้านอุตสาหกรรม พาณิชยการ หรือการบริหารที่มีความเกี่ยวข้องกับวิชาที่ศึกษา ระยะเวลาการศึกษาจึงใช้เวลานานกว่าปกติคือ 4 ปี การฝึกงานอาจจัดเป็นช่วงเดียว คือ เป็นเวลา 1 ปี หรือ 2 ช่วง ๆ ละ 6 เดือน ซึ่งถูกเรียกว่าหลักสูตร thin – sandwich หลักสูตร ทั้ง 2 ประเภทนี้ นักศึกษาจะต้องกลับมาเรียนที่มหาวิทยาลัยในปีสุดท้ายก่อนสำเร็จการศึกษา 2. Post-Graduate Course การศึกษาที่สูงกว่าปริญญา มี 3 ระดับ 9 • Post - Graduate Certificate / Diploma หลักสูตร 9 เดือน ถึง 1 ปี รับผู้สำเร็จปริญญาตรีในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง • Master Degree หลักสูตร 1 - 2 ปี รับผู้สำเร็จปริญญาตรีในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง การเรียนระดับนี้มีทั้งหลักสูตรปริญญาโทแบบเข้าชั้นเรียน (Taught Master) และปริญญาโทแบบทำวิจัย หลักสูตรปริญญาแบบเข้าชั้นเรียน (Taught Master) เป็นหลักสูตรที่นักศึกษาสามารถเลือกเรียนเฉพาะด้านได้ โดยอยู่ในความดูแลของอาจารย์ผู้เชี่ยวชาญในสาขานั้น ๆ วิธีการเรียนการสอนมีทั้งการบรรยาย การสัมมนา การทำงานในห้องทดลอง และการทำวิทยานิพนธ์ ปริญญาที่ให้ได้แก่ Master of Arts (M.A.), Master of Science (M.Sc.), Master of Business Administration (M.B.A.) หลักสูตรปริญญาโทแบบทำวิจัย เป็นหลักสูตรที่นักเรียนจะต้องค้นคว้าด้วยตนเอง โดยอยู่ภายใต้อาจารย์ที่ปรึกษา ส่วนใหญ่ของหลักสูตรจะเป็นการศึกษาหัวข้อวิจัย และวางแผนการเรียนวิทยานิพนธ์ การประเมินผลจะประเมินจากการเขียนวิทยานิพนธ์ ปริญญาที่ให้ได้แก่ Master of Philosophy (M.Phil.), Master of Science by Research (M.Sc. by research) • Doctoral degree เป็นหลักสูตรที่นักศึกษาจะต้องศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองเป็นส่วนใหญ่ โดยการทำวิจัยและเขียนวิทยานิพนธ์ ภายใต้การดูแลของอาจารย์ที่ปรึกษา ส่วนใหญ่การศึกษาระดับนี้จะใช้เวลาอย่างน้อย 3 ปี ปริญญาที่ให้คือ Ph.D. หรือ D.phil. นอกจากนี้ยังมี New Route to PhD ซึ่งเป็นทางเลือกใหม่ของการศึกษาปริญญาเอก ใช้เวลาศึกษา 4 ปี โดย 30 – 40 % ของหลักสูตรจะเป็นการเรียนแบบ Taught course และ 60 – 70 % จะเป็นการทำวิจัย ที่ตั้งและขนาดของประเทศอังกฤษ (Location and Size of UK ) สหราชอาณาจักร (United Kingdom) ประกอบด้วยพื้นที่เกาะ 2 ส่วนใหญ่ 1 คือ • เกาะใหญ่ (Great Britain) และเกาะไอร์แลนด์เหนือ (Northern Ireland) • พื้นที่เกาะใหญ่ยังแบ่งออกเป็น 3 อาณาเขต คือ อังกฤษ (England), เวลส์ (Wales พื้นที่ติดกับอังกฤษทางทิศตะวันตก), และสก๊อตแลนด์ (Scotland อยู่ทางตอนเหนือ ของเกาะใหญ่) ประเทศอังกฤษตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของทวีปยุโรป จำนวนประชากรของประเทศอังกฤษ (Population) ประชากร 62,000,000 คน ความต่างระหว่างเวลาประเทศอังกฤษและประเทศไทย (Time Difference) เวลาที่ประเทศอังกฤษช้ากว่าประเทศไทย 6 ชั่วโมง ใช้เวลาเดินทางโดยเครื่องบินประมาณ 12 ชั่วโมง ค่าเงิน (Currency) ค่าเงินของประเทศอังกฤษ คือ Grant Britain Pound (GBP) ปัจจุบัน 50 baht = 1 pound (as of July 2011) ค่าครองชีพ (Living costs) ค่าใช้จ่ายนอกเหนือจากค่าเรียนที่ท่านต้องเตรียม โดยประมาณดังนี้ Area Living Cost per week London และ เขตใกล้เคียง ได้แก่ Camden, City of London, Hackney, Hammersmith and Fulham, Haringey, Islington, Kensington and Chelsea, Lambeth, Lewisham, Newham, Southwark, Tower Hamlets, Wandsworth and Westminster 800 pounds เมืองอื่นๆ นอกเหนือจากเมืองข้างต้น 600 pounds ภูมิอากาศ (Seasons & Weather) Winter : ธันวาคม – กุมภาพันธ์ Spring : มีนาคม – พฤษถาคม Summer : มิถุนายน – สิงหาคม Fall : กันยายน –พฤศจิกายน อุณหภูมิต่ำสุดไม่ต่ำกว่า 5 C และสูงสุดไม่เกิน 32 C |
|